Monthly Archives: มกราคม 2012

ประเทศลาว

มาตรฐาน

ลาว

     ประเทศลาว หรือชื่ออย่างเป็นทางการ คือ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (ลาว: อังกฤษ:Lao People’s Democratic Republic) เป็นประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีพื้นที่ 236,800 ตารางกิโลเมตร ซึ่งเป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล มีพรมแดนติดจีนและพม่าทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ติดต่อกับเวียดนามทางทิศตะวันออก ติดต่อกับกัมพูชาทางทิศใต้ และติดต่อกับประเทศไทยทางทิศตะวันตก
คำว่า ลาว ในภาษาอังกฤษ
ในภาษาอังกฤษ คำว่าลาว ที่หมายถึงประเทศสะกดว่า “Laos” และ ลาวที่หมายถึงคนลาว และภาษาลาวใช้ “Lao” ในบางครั้งจะเห็นมีการใช้คำว่า “Laotian” แทนเนื่องจากป้องกันการสับสนกับเชื้อชาติลาว ที่สะกด “Lao ethnic group


ธงชาติลาว

ประวัติศาสตร์

สมัยศักดินา

     ประวัติศาสตร์ยุคแรกๆ ของลาว เชื่อว่าอยู่ภายใต้การครอบครองของอาณาจักรน่านเจ้ามีตำนานโดยขุนบรม และขุนลอ มีลูกสืบหลานต่อๆ กันมา จนถึงรัชสมัยพระเจ้าฟ้างุ้มผู้รวบรวมอาณาจักรล้านช้างได้เป็นผลสำเร็จในช่วงสมัยพุทธศตวรรษที่ 19 และมีกษัตริย์ปกครองสืบทอดต่อกันมาหลายพระองค์ ที่สำคัญ เช่น
พระเจ้าไชยเชษฐาธิราช พระองค์มีความสัมพันธไมตรีที่แนบแน่นกับกษัตริย์ไทย โดยเฉพาะในรัชสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ
พระเจ้าสุริยวงศาธรรมิกราช รัชสมัยของพระองค์นับเป็นยุคทองของราชอาณาจักรล้านช้าง
ภายหลังเมื่อพระเจ้าสุริยวงศาธรรมิกราชเสด็จสวรรคตแล้ว เชื้อพระวงศ์ลาวต่างก็แก่งแย่งราชสมบัติกัน จนอาณาจักรล้านช้างแตกแยกเป็น 3 ส่วนคือ อาณาจักรล้านช้างหลวงพระบาง อาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์และอาณาจักรล้านช้างจำปาศักดิ์ ต่างเป็นอิสระไม่ขึ้นแก่กัน และเพื่อชิงความเป็นใหญ่ต่างก็ขอสวามิภักดิ์ต่อเมืองเพื่อนบ้านเช่นไทย พม่า เพื่อขอกำลังมาสยบอาณาจักรลาวด้วยกันในลักษณะนี้ ในที่สุดอาณาจักรลาวทั้ง 3 แห่งนี้จะตกเป็นเมืองขึ้นของอาณาจักรสยามในปี พ.ศ. 2321
สยามได้ปกครองดินแดนลาวทั้งสามส่วนในฐานะประเทศราชรวม 114 ปี ในระยะเวลาดังกล่าวอาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์ได้ล่มสลายลงในปี พ.ศ. 2371 เนื่องจากในปี พ.ศ. 2369 พระเจ้าอนุวงศ์ กษัตริย์แห่งอาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์ได้พยายามทำสงครามเพื่อตั้งตนเป็นอิสระจากสยาม เนื่องจากไม่อาจทนต่อการกดขี่ของฝ่ายไทยได้ ทว่าหลังการปราบปรามของกองทัพไทยอย่างหนัก พระองค์เห็นว่าจะทำการไม่สำเร็จจึงตัดสินพระทัยหลบหนีไปพึ่งจักรวรรดิเวียดนามจนถึง พ.ศ. 2371 พระองค์จึงได้กลับมายังกรุงเวียงจันทน์พร้อมกับขบวนราชทูตเวียดนามพามาเพื่อขอสวามิภักดิ์สยามอีกครั้ง แต่พอสบโอกาสพระองค์จึงนำทหารของตนฆ่าทหารไทยที่รักษาเมืองจนเกือบหมดและยึดกรุงเวียงจันทน์คืน กองทัพสยามรวบรวมกำลังพลและยกทัพมาปราบปรามเจ้าอนุวงศ์อีกครั้งจนราบคาบ พระเจ้าอนุวงศ์เองก็ทรงถูกเจ้าเมืองnanจับตัวส่งลงมากรุงเทพ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระพิโรธเจ้าอนุวงศ์มากจึงทรงให้คุมขังเจ้าอนุวงศ์ประจานกลางพระนครจนสิ้นพระชนม์ ส่วนกรุงเวียงจันทน์ก็ทรงมีพระบรมราชโองการให้ทำลายจนไม่เหลือสภาพความเป็นเมือง และตั้งศูนย์กลางการปกครองฝ่ายไทยเพื่อดูแลอาณาเขตของอาณาจักรเวียงจันทน์ที่เมืองหนองคายแทน

สมัยอาณานิคม การประกาศเอกราช และสงครามกลางเมือง
ในปี พ.ศ. 2436 สยามได้เกิดข้อขัดแย้งกับฝรั่งเศสในเรื่องอำนาจเหนือดินแดนฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขงจนเกิดวิกฤตการณ์ ร.ศ. 112 จากการใช้เล่ห์เหลี่ยมของโอกุสต์ ปาวีกงสุลฝรั่งเศส โดยการใช้เรือรบมาปิดอ่าวไทยเพื่อบังคับให้ยกดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง รวมทั้งดินแดนอื่น ๆ ดินแดนลาวเกือบทั้งหมดก็เปลี่ยนไปตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของประเทศฝรั่งเศสในปีนั้นและถูกรวมเป็นส่วนหนึ่งของอินโดจีนฝรั่งเศส ต่อมาภายหลังดินแดนลาวส่วนอื่นที่อยู่ฝั่งขวาของแม่น้ำโขงก็ตกเป็นของฝรั่งเศสอีกในปี พ.ศ. 2450
ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 กองทัพญี่ปุ่นได้รุกเข้ามาในลาวและดินแดนอินโดจีนฝรั่งเศสอื่นๆ เมื่อญี่ปุ่นใกล้แพ้สงคราม ขบวนการลาวอิสระซึ่งเคลื่อนไหวทางการเมืองเพื่อกู้เอกราชลาวในเวลานั้นประกาศเอกราชให้ประเทศลาวเป็นประเทศ ราชอาณาจักรลาว หลังญี่ปุ่นแพ้สงคราม ฝรั่งเศสก็กลับเข้ามามีอำนาจในอินโดจีนอีกครั้งหนึ่ง แต่เนื่องจากการที่เวียดมินห์ปลดปล่อยเวียดนามได้ จึงเป็นการสั่นคลอนอำนาจฝรั่งเศสจนยอมให้ลาวประกาศเอกราชบางส่วนในปี พ.ศ. 2492 และได้เอกราชสมบูรณ์ในปี พ.ศ. 2496 ภายหลังฝรั่งเศสรบแพ้เวียดนามที่เดียนเบียนฟู ผู้ที่มีบทบาทในการประกาศเอกราชคือ เจ้าสุวรรณภูมา เจ้าเพชรราช และ เจ้าสุภานุวงศ์ โดยมีเจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวงศ์ ดำรงตำแหน่งเป็นเจ้ามหาชีวิต (พระมหากษัตริย์) จากอาณาจักรล้านช้างหลวงพระบางเดิม และได้รวมทั้ง 3 อาณาจักรคือ ล้านช้างหลวงพระบาง ล้านช้างเวียงจันทน์ และ ล้านช้างจำปาศักดิ์ เข้าด้วยกันเป็นราชอาณาจักรลาว


พระบรมราชานุสาวรีย์พระเจ้าไชยเชษฐาธิราช หน้าพระธาตุหลวง นครหลวงเวียงจันทน์

พ.ศ. 2502 เจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวงศ์เสด็จสวรรคต เจ้าสว่างวัฒนาจึงขึ้นครองราชย์เป็นเจ้ามหาชีวิตแทน เหตุการณ์ในลาวยุ่งยากมาก เจ้าสุภานุวงศ์ 1 ในคณะลาวอิสระประกาศตนว่าเป็นพวกฝ่ายซ้ายนิยมคอมมิวนิสต์ และเป็นหัวหน้าขบวนการปะเทดลาว ได้ออกไปเคลื่อนไหวทางการเมืองในป่า เนื่องจากถูกฝ่ายขวาในลาวคุกคามอย่างหนัก ถึงปี พ.ศ. 2504 ร้อยเอกกองแลทำการรัฐประหารรัฐบาลเจ้าสุวรรณภูมา แต่ถูกกองทัพฝ่ายขวาและฝ่ายซ้ายรุมจนพ่ายแพ้ กองแลต้องลี้ภัยไปสหรัฐจนถึงปัจจุบัน
เหตุการณ์ทางการเมืองในระยะเวลาไม่นานหลังจากนั้นบังคับให้ลาวต้องกลายเป็นสมรภูมิลับของสงครามเวียดนาม และเป็นปัจจัยก่อให้เกิดการรัฐประหารและสงครามกลางเมืองที่ยืดเยื้อ ภายใต้การแทรกแซงของชาติต่างๆ ทั้งฝ่ายคอมมิวนิสต์และฝ่ายโลกเสรี จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2518 พรรคประชาชนปฏิวัติลาว ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากสหภาพโซเวียตและเวียดนามเหนือ โดยการนำของเจ้าสุภานุวงศ์ ก็ยึดอำนาจรัฐจากรัฐบาลประชาธิปไตยโดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขของเจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวัฒนา ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลฝรั่งเศสและสหรัฐอเมริกาสำเร็จ เจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวัฒนาทรงยินยอมสละราชสมบัติ พรรคประชาชนปฏิวัติลาวจึงประกาศสถาปนาประเทศลาวเป็น “สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว” อย่างเป็นทางการในวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2518 โดยยังคงแต่ตั้งให้อดีตเจ้ามหาชีวิตเป็นที่ปรึกษาของรัฐบาลระบอบใหม่ แต่ภายหลังพรรคประชาชนปฏิวัติลาวก็ได้กุมตัวอดีตเจ้ามหาชีวิตและมเหสีไปคุมขังในค่ายกักกันจนสิ้นพระชนม์ เนื่องจากความขัดแย้งทางการเมืองในเวลาต่อมา

สมัยสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

     สภาพการปกครอง และการบริหารด้านเศรษฐกิจของลาวเริ่มผ่อนคลายมากขึ้นในระยะหลังของทศวรรษ 1980 ต่อมาเมื่อเจ้าสุภานุวงศ์สละตำแหน่งจากประธาน ผู้ดำรงตำแหน่งประธานประเทศต่อจากเจ้าสุภานุวงศ์คือ ท่านไกสอน พมวิหาน และเมื่อท่านไกสอนถึงแก่กรรมกระทันหัน ท่าน หนูฮัก พูมสะหวัน ก็ได้ดำรงตำแหน่งประธานประเทศต่อมา ยุคนี้ลาวกับไทยเปิดสะพานมิตรภาพ ไทย – ลาว ในปี พ.ศ. 2538 ต่อมาท่านหนูฮักสละตำแหน่ง ท่านคำไต สีพันดอนรับดำรงตำแหน่งประธานประเทศต่อ จนถึงปี พ.ศ. 2549 ท่านคำไตลงจากตำแหน่ง ท่านจูมมะลี ไซยะสอน จึงเป็นผู้รับตำแหน่งประธานประเทศลาวคนปัจจุบัน

การเมือง

     สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว มีระบบการปกครองแบบสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ (ทางการลาวใช้คำว่า ระบอบประชาธิปไตยประชาชน) โดยพรรคการเมืองเดียวเป็นองค์กรชี้นำประเทศคือ พรรคประชาชนปฏิวัติลาว มีอำนาจสูงสุดตั้งแต่ลาวเริ่มปกครองในระบอบสังคมนิยม เมื่อ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2518 – ประธานประเทศคนแรก : เสด็จเจ้าสุพานุวง (หรือ ท่าน สุพานุวง ตามระบอบสังคมนิยม) – นายกรัฐมนตรีคนแรก : ท่าน ไกสอน พมวิหาน

     1. พรรคประชาชนปฏิวัติลาวเป็นองค์กรที่มีอำนาจสูงสุดผูกขาดการปกครองประเทศ ตามระบอบสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ พรรคฯ ได้กำหนดนโยบายและเป้าหมายการพัฒนาประเทศในการประชุมสมัชชาพรรคฯ ครั้งที่ 8 เมื่อเดือนมีนาคม 2549 ให้รัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องยึดถือปฏิบัติ ดังนี้

     o ปี 2563 ต้องพ้นจากสถานะการเป็นประเทศที่พัฒนาน้อยที่สุด ต้องมีความมั่นคงทางการเมือง เศรษฐกิจต้องขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ประชาชนต้องมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นจากปัจจุบัน 3 เท่าตัว o ปี 2549-2553 เป็นช่วงของการเสริมสร้างพื้นฐานเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาประเทศที่กำหนดไว้สำหรับปี 2563 เศรษฐกิจต้องมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่องในอัตราไม่ต่ำกว่าร้อยละ 7.5 ต่อปี ยุติการตัดไม้ทำลายป่าเพื่อทำไร่เลื่อนลอย แก้ไขปัญหาความยากจนให้หมดสิ้นไป เตรียมพัฒนาบุคลากรรองรับการเปลี่ยนแปลงไปสู่การเป็นประเทศอุตสาหกรรม ประชากรมีรายได้เฉลี่ยมากกว่า 800 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อปี
     ลาวดำเนินนโยบายต่างประเทศที่มุ่งสร้างเสริมความสัมพันธ์แบบรอบด้านกับทุกประเทศ บนพื้นฐานของการอยู่ร่วมกันอย่างสันติโดยไม่แบ่งแยกลัทธิอุดมการณ์เพื่อขอรับการสนับสนุนและความ ช่วยเหลือในการพัฒนาประเทศให้บรรลุเป้าหมายตามที่พรรคฯ กำหนดไว้ ทั้งนี้ ลาวให้ความสำคัญกับประเทศเพื่อนบ้านเป็นลำดับแรก ได้แก่ เวียดนาม จีน พม่า กัมพูชาและไทย รองลงมาเป็นประเทศร่วมอุดมการณ์ ได้แก่ รัสเซีย เกาหลีเหนือ และคิวบา อย่างไรก็ดี แม้ว่าลาวจะพยายามดำเนินความสัมพันธ์กับประเทศต่าง ๆ ให้สมดุลเพื่อลดการพึ่งพาประเทศใดประเทศหนึ่งเป็นหลัก แต่ข้อจำกัดของลาวที่ไม่มีทางออกทางทะเลและการด้อยพัฒนาทางเศรษฐกิจ กอปรกับเวียดนามและจีนต้องการคงอิทธิพลในภูมิภาคอินโดจีนไว้ จึงทำให้ลาวมีความสัมพันธ์พิเศษกับเวียดนามและจีนทั้งด้านความมั่นคงและด้านเศรษฐกิจซึ่งเป็นผลให้ประเทศทั้งสองสามารถขยายอิทธิพลในลาวได้ในระยะต่อไป

     ในปี 2548 สถานการณ์ภายในประเทศโดยรวมมีความสงบเรียบร้อย แม้ว่ายังคงมีรายงานการเคลื่อนไหวของกลุ่มต่อต้านรัฐบาลตามแขวงต่างๆ แต่ทางการลาวสามารถควบคุมสถานการณ์ได้โดยได้จัดวางกองกำลังลาดตระเวนในพื้นที่ต่างๆ อย่างเข้มงวดทำให้ไม่เกิดเหตุการณ์รุนแรง นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรี สปป.ลาว ได้มีคำสั่งเมื่อวันที่ 13 มกราคม 2549 ยุบเขตการปกครองพิเศษไชสมบูนซึ่งเคยเป็นพื้นที่ที่มีปัญหาด้านความมั่นคง โดยโอนพื้นที่การปกครองไปขึ้นกับแขวงเชียงขวางและแขวงเวียงจันทน์ เนื่องจากเห็นว่าพื้นที่ดังกล่าวมีความมั่นคงปลอดภัยมากขึ้นแล้ว
     เมื่อวันที่ 18-21 มีนาคม 2549 ที่ประชุมสมัชชาพรรคประชาชนปฏิวัติลาว ครั้งที่ 8 มีมติเป็นเอกฉันท์เลือก พลโท จูมมะลี ไชยะสอน รองประธานประเทศ (ตำแหน่งในขณะนั้น) ให้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการใหญ่คณะบริหารศูนย์กลางพรรค (Central Committee) และสมาชิกคณะกรมการเมือง (Politburo) ลำดับที่ 1 แทนพลเอกคำไต สีพันดอน อดีตประธานประเทศที่สละตำแหน่งในพรรคทุกตำแหน่ง และได้แต่งตั้งคณะบริหารพรรค ได้แก่ คณะบริหารงานศูนย์กลางพรรค จำนวน 55 คน คณะกรมการเมือง จำนวน 11 คน คณะเลขาธิการศูนย์กลางพรรค จำนวน 7 คน และคณะกรรมการตรวจตราพรรคฯ ระดับศูนย์กลางพรรคฯ จำนวน 3 คน รวมทั้ง ได้กำหนดแผนพัฒนาประเทศระยะสั้นปี 2553 และระยะยาวปี 2563 เพื่อให้รัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปปฏิบัติ
     เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2549 สปป.ลาวได้จัดการเลือกตั้งสมาชิกสภาแห่งชาติ ชุดที่ 6 โดยพรรคประชาชนปฏิวัติลาวได้คัดเลือกส่งผู้สมัครเข้ารับการเลือกตั้ง จำนวน 175 คนเพื่อเลือกตั้งสมาชิกสภาแห่งชาติ จำนวน 115 ที่นั่งใน 17 เขตเลือกตั้ง (16 แขวงและนครหลวงเวียงจันทน์) ผลการเลือกตั้งปรากฏว่า มีประชาชนไปใช้สิทธิเลือกตั้งร้อยละร้อย สมาชิกสภาแห่งชาติที่ได้รับเลือกจำนวน 115 คน เป็นสมาชิกพรรคประชาชนปฏิวัติลาว จำนวน 113 ที่นั่ง และผู้สมัครอิสระจำนวน 2 ที่นั่ง แบ่งเป็นชนเผ่าลาวลุ่ม 92 คน ลาวเทิง 17 คน และลาวสูง 6 คน
     การประชุมสภาแห่งชาติ ชุดที่ 6 ครั้งที่ 1 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 8 – 17 มิถุนายน 2549 โดยในการประชุมวันแรก ที่ประชุมได้รับรองผู้ดำรงตำแหน่งประธานประเทศ รองประธานประเทศ และคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ รวมทั้งได้มีการปรับ/จัดตั้งกระทรวงด้านเศรษฐกิจ ได้แก่ ปรับกระทรวงอุตสาหกรรมและหัตถกรรมไปรวมกับกระทรวงการค้า เป็น “กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า” และจัดตั้ง “กระทรวงพลังงานและบ่อแร่” ขึ้นใหม่เพื่อให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศที่มุ่งเน้นการพัฒนาเศรษฐกิจ และนำศักยภาพด้านพลังงาน (พลังงานน้ำและแร่ธาตุ) มาใช้ในการพัฒนาประเทศให้เกิดประโยชน์สูงสุด

สถาบันการเมืองที่สำคัญ

     1. พรรคประชาชนปฏิวัติลาว
     2. สภารัฐมนตรี (สภาแห่งชาติแต่งตั้งคณะรัฐมนตรี)
     3. สภาแห่งชาติลาว (ประชาชนเลือกสมาชิกสภาแห่งชาติจากผู้ที่พรรคฯ เสนอ) จะมีการเลือกตั้งเอาสมาชิกสภาแห่งชาติชุดที่ 6 ในทุกแขวงทั่วประเทศ ในวันที่ 30 เมษายน 2549 และเปิดประชุมสภาครั้งปฐมฤกษ์ ในวันที่ 8 มิถุนายน 2549
     4.แนวลาวสร้างชาติ
องค์กรจัดตั้ง เช่น สหพันธ์วัยหนุ่มลาว(สหพันธ์เยาวชน) สหพันธ์แม่หญิงลาว(สมาคมสตรี) กรรมบาลลาว(สหพันธ์กรรมกร) ซึ่งได้รับการสนับสนุนโดยพรรคประชาชนปฏิวัติลาว

การจัดตั้งและการบริหาร

  • หลายหมู่บ้านรวมกัน เป็น “เมือง” (อำเภอ)

  • หลายเมืองรวมกัน เป็น “แขวง” (จังหวัด)

  • “คณะกรรมการปกครองหมู่บ้าน มีนายบ้าน (ผู้ใหญ่บ้าน) เป็นหัวหน้า” เป็นผู้บริหารของหมู่บ้าน

  • “คณะกรรมการปกครองเมือง มีเจ้าเมือง (นายอำเภอ) เป็นหัวหน้า” เป็นผู้บริหารเมือง

  • “คณะกรรมการปกครองแขวง มีเจ้าแขวง (ผู้ว่าราชการจังหวัด) เป็นหัวหน้า” เป็นผู้บริหารแขวง

  • “คณะกรรมการปกครองนครหลวง มีเจ้าครองนครหลวง (ผู้ว่าราชการกรุงเวียงจันทน์) เป็นหัวหน้า” เป็นผู้บริหารนครหลวง

  • ระดับศูนย์กลาง มีกระทรวง คณะกรรมการ

การแบ่งเขตการปกครอง

     ลาวแบ่งเป็น 16 แขวงและ 1 เขตปกครองพิเศษ หรือ นครหลวง* คือ

ชื่อ เมืองเอก พื้นที่ (km²) ประชากร(ปี 2547)
1. แขวงอัดตะปือ / Attapu เมืองสามักคีไซ (สามัคคีไชย) 10,320 114,300
2. แขวงบ่อแก้ว/ Bokeo เมืองห้วยซาย (ห้วยทราย) 6,196 149,700
3. แขวงบอลิคำไซ / Boli khamxai เมืองปากซัน 14,863 214,900
4. แขวงจำปาสัก / Champasak เมืองปากเซ 15,415
575,600
5. แขวงหัวพัน / Houaphan เมืองซำเหนือ 16,500 322,200
6. แขวงคำม่วน / Khammouan เมืองท่าแขก 16,315 358,800
7. แขวงหลวงน้ำทา / Louang Namtha เมืองหลวงน้ำทา 9,325 150,100
8. แขวงหลวงพระบาง/ Louang Phabang เมืองหลวงพระบาง 16,875 408,800
9. แขวงอุดมไซ (อุดมชัย) / Oudomxai เมืองไซ
15,370

275,300
10. แขวงพงสาลี / Phongsali เมืองพงสาลี 16,270 199,900
11. แขวงสาละวัน / Salavan เมืองสาละวัน (สาระวัน) 10,691 10,691
12. แขวงสะหวันนะเขด (สุวรรณเขต) / Savannakhet เมืองไกสอน พมวิหาน 21,774 721,500
13. นครหลวง เวียงจันทน์ / Vientiane capita นครหลวงเวียงจันทน์ (ประกอบด้วยเมืองจันทะบูลี, เมืองสีสัดตะนาก, เมืองไซเสดถา เมืองสีโคดตะบอง เมืองหาดซายฟอง และ ตอนใต้ของเมืองไซทานี) 3,920
692,900
14. แขวงเวียงจันทน์ / Vientiane เมืองโพนโฮง 15,927 373,700
15. แขวงไซยะบูลี / Xaignabouli เมืองไซยะบูลี (ไชยะบุรี) 16,389 382,200
16. แขวงเซกอง / Xekong เมืองละมาม 7,665
83,600
17. แขวงเชียงขวาง / Xiangkhoang เมืองโพนสะหวัน (โพนสวรรค์) 15,880 262,200


ด่านพรมแดนช่องเม็ก แขวงจำปาสัก ประเทศลาว

ในวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2549 ได้มีการยุบเขตพิเศษไซสมบูน (หมายเลข 16 ในแผนที่) อย่างเป็นทางการ ตามรัฐดำรัสนายกรัฐมนตรี (คำสั่งนายกรัฐมนตรี) เลขที่ 10/นย. ลงวันที่ 13 มกราคม 2549 โดยเมืองท่าโทมถูกรวมกับแขวงเชียงขวาง และเมืองไซสมบูนถูกรวมกับแขวงเวียงจันทน์

ภูมิศาสตร์

ลักษณะภูมิประเทศ

สปป.ลาวมีความยาวตั้งแต่เหนือจรดใต้ 1,700 กว่ากิโลเมตร, ที่กว้างที่สุด 500 กิโลเมตร และที่แคบที่สุด 140 กิโลเมตร เนื้อที่ทังหมด 236,800 ตารางกิโลเมตร มีทั้งเขตภูเขาและที่ราบ ในนั้นมีเขตที่ราบสูง และ และภูเขารวมเนื้อที่ 3/4 ของเนื้อที่ทั้งหมด และ ได้แบ่งออกเป็น 3 เขตคือ

  • เขตภาคเหนือ เป็นเขตภูเขาสูง สูงกว่าระดับน้ำทะเลเฉลี่ย 1,500 เมตร.
  • เขตสายภูหลวงนั้บตั้งแต่ทิศตะวันออกเฉียงใต้ของที่ราบสูงเมืองพวน จนถึงชายแดนกำพูชา โดยมีที่ราบสูงขนาดใหญ่อยู่ 3 แห่งคือ ที่ราบเมืองพวน (แขวงเซียงขวาง) ที่ราบสูงนากาย (แขวงคำม่วน) และ และที่ราบบริเวณ (ภาคใต้) ซึ่งสูงกว่าระดับน้ำทะเลเฉลี่ย 1,000 เมตร
  • เขตที่ราบเวียงจันทน์ (อยู่ตอนใต้ของน้ำงึม) ที่ราบสะหวันนะเขด (อยู่ตอนใต้ห้วยบั้งไฟ และ ห้วยบั้งเหียน) ที่ราบจำปาสัก ซึ่งเหยียดยาวตามแคมฝั่งน้ำโขงไปถึงชายแดนไทย และ กำพูชา เป็นที่ราบซึ่งรวมเอาเนื้อที่ 1/4 ของประเทศนี้ เป็นดินเพาะปลูกที่อุดมสมบูรณ์ งอกงาม เป็นอู่ข้าวอู่น้ำของประเทศ.
    สปป.ลาว เป็นประเทศหนึ่งที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยแม่น้ำลำห้วย ซึ่งเรียงรายอยู่ตั้งแต่เหนือจรดใต้ แม่น้ำโขงไหลผ่านยาว 1,835 กิโลเมตร ซึ่งมีความสามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าจากน้ำอยู่ในเขื่อนตอนล่างรวม 51% นอกจากแม่น้ำโขงแล้ว ยังมีบรรดาสายน้ำที่สำคัญต่างๆ เช่น
  • แม่น้ำอู (ผงสาลี – หลวงพะบาง) ยาว 448 กิโลเมตร
  • แม่น้ำงึม (เซียงขวาง-เวียงจันทน์) ยาว 354 กิโลเมตร
  • ห้วยน้ำบั้งเหียง (สะหวันนะเขด) ยาว 338 กิโลเมตร
  • น้ำทา (หลวงน้ำทา-บ่อแก้ว) ยาว 325 กิโลเมตร
  • ห้วยน้ำกอง (สาละวัน-เซกอง-อัดตะบือ) ยาว 320 กิโลเมตร
  • ห้วยน้ำบั้งไฟ (คำม่วน-สะหวันนะเขด) ยาว 239 กิโลเมตร
  • แม่น้ำแบ่ง (อุดมไซ) ยาว 215 กิโลเมตร
  • ห้วยน้ำโดน (สาละวัน-จำปาสัก) ยาว 192 กิโลเมตร
  • ห้วยน้ำละนอง (สะหวันนะเขด) ยาว 115 กิโลเมตร
  • แม่น้ำกะดิง (บอลิคำไซ) ยาว 103 กิโลเมตร
  • แม่น้ำคาน (หัวพัน-หลวงพะบาง) ยาว 90 กิโลเมตร.

ลักษณะภูมิอากาศ

ลักษณะภูมิอากาศของลาวคล้ายกับภาคเหนือและภาคอีสานของไทย แต่ฤดูหนาวมีอากาศหนาวมากกว่า พื้นที่ทางภาคใต้และทางตอนกลางของประเทศเป็นบริเวณที่มีฝนตกชุกมากกว่าภาคเหนือ

เศรษฐกิจ

     ภาวะเศรษฐกิจของ สปป.ลาวมีพัฒนาการที่ดีตามลำดับ โดยในช่วง 20 ปีนับตั้งแต่ปรับเปลี่ยนระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยมสู่ระบบเศรษฐกิจเสรีการตลาดเมื่อปี 2529 สปป.ลาวมีการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องในอัตราเฉลี่ยร้อยละ 6.2 ต่อปี ประชากรมีรายได้เพิ่มขึ้นจากประมาณ 200 ดอลลาร์สหรัฐเมื่อปี 2529 เป็น 491 ดอลลาร์สหรัฐในปี 2548 ภาคอุตสาหกรรมขยายตัวในอัตราไม่ต่ำกว่า ร้อยละ 10 ต่อปี โดยอุตสาหกรรมพลังงานไฟฟ้าเป็นสาขาหลักที่สร้างรายได้ให้แก่ประเทศ
ในปี 2548 สปป.ลาวมีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจร้อยละ 7.2 เพิ่มจากร้อยละ 6.6 ในปี 2547 ภาคเกษตรกรรม มีพื้นที่เพาะปลูกเพิ่มขึ้น 190,000 เฮกตาร์ (1,187,500 ไร่) และผลิตข้าวได้ 2.6 ล้านตัน ภาคอุตสาหกรรม รัฐบาล สปป.ลาวได้อนุมัติสัมปทานโครงการไฟฟ้าพลังน้ำ เหมืองแร่ (ทองคำ ทองแดง ดีบุก ถ่านหิน สังกะสี ยิปซั่ม) โครงการผลิตซีเมนต์และเหล็กในหลายพื้นที่เพื่อเพิ่มการส่งออก ด้านการคมนาคมขนส่ง การก่อสร้างถนนเชื่อมโยงลาวกับประเทศในอนุภูมิภาคมีความคืบหน้าอย่างมาก ถนนที่สร้างแล้วเสร็จ ได้แก่ ถนนหมายเลข 9 (ไทย-ลาว-เวียดนาม) และถนนหมายเลข 18 B (ลาว-เวียดนามตอนใต้) ในขณะที่ถนนหมายเลข 3 (ไทย-ลาว-จีน) ถนนหมายเลข 8 และหมายเลข 12 (ไทย-ลาว-เวียดนาม) จะแล้วเสร็จในปี 2550

โครงการความร่วมมือในภูมิภาคใกล้เคียง

     อาเซียน ลาวเข้าเป็นสมาชิกอาเซียนเมื่อเดือนกรกฎาคม 2540 ได้เป็นประธาน คณะกรรมการประจำอาเซียนเมื่อกรกฎาคม 2547 ไทยได้ให้ความร่วมมือแก่ลาวเพื่อให้สามารถมีส่วนร่วม ในอาเซียนได้อย่างทัดเทียมกับประเทศสมาชิกอาเซียนเก่า ทั้งในกรอบความริเริ่มเพื่อการรวมตัวของอาเซียน การให้สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร รวมทั้งให้ความร่วมมือแก่ลาวเตรียมความพร้อมในโอกาสที่ลาวเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 10 เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2547 โดยได้จัดการดูงานให้เจ้าหน้าที่ลาว ให้การสนับสนุนด้านวัสดุอุปกรณ์สำหรับจัดตั้งศูนย์ข่าว มูลค่าประมาณ 11.80 ล้านบาท และให้ความช่วยเหลือทางการเงินเพื่อปรับปรุงสนามบินวัดไตมูลค่าประมาณ 320 ล้านบาท
ยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอิระวดี-เจ้าพระยา-แม่โขง (Ayeyawady-Chao Phraya-Mekong Economic Cooperation Strategy – ACMECS) ลาวมีส่วนร่วมในกรอบ ACMECS อย่างแข็งขัน ล่าสุด ลาวได้เป็นประธานการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อปรับ ACMECS Plan of Action และทบทวนโครงการความร่วมมือในสาขาต่าง ๆ ระหว่างวันที่ 1-2 มิถุนายน 2549 ที่กรุงเทพฯ และเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม ACMECS ระดับรัฐมนตรีที่เมืองดอนโขง แขวงจำปาสัก ระหว่างวันที่ 3-4 กรกฎาคม 2549
ความร่วมมือในกรอบสามเหลี่ยมมรกต ลาวเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมระดับรัฐมนตรีความร่วมมือในกรอบสามเหลี่ยมมรกต ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2546 ที่แขวงจำปาสัก ที่ประชุมได้เห็นชอบปฏิญญาว่าด้วยความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวซึ่งมีสาระสำคัญมุ่งให้ความสำคัญกับการพัฒนาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเพื่อช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศสมาชิก และได้กำหนดพื้นที่ความร่วมมือเพื่อผลักดันให้กรอบความร่วมมือมีความเด่นชัด คือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย ภาคตะวันตกเฉียงเหนือของกัมพูชา และภาคใต้ของลาว ทั้งนี้ ไทยได้จัดสรรงบประมาณ 2 ล้านบาท ในโครงการปรับปรุงศูนย์ข้อมูลข่าวสารการท่องเที่ยวสามเหลี่ยมมรกตที่แขวงจำปาสักด้วย

ด้านสังคมและการพัฒนา

     อย่างไรก็ดี ลาวยังคงประสบปัญหาที่ต้องเร่งแก้ไข ที่สำคัญได้แก่ ปัญหาราคาน้ำมัน ที่เพิ่มสูงขึ้น ปัญหาการขาดดุลการค้าในอัตราสูง ค่าเงินกีบไม่มีเสถียรภาพ การจัดเก็บรายได้ต่ำกว่าเป้าหมาย และปัญหาการฉ้อราษฎร์บังหลวง

  • สินค้าส่งออกที่สำคัญ เสื้อผ้าสำเร็จรูป ไม้ซุง ไม้แปรรูป ผลิตภัณฑ์ไม้ สินแร่ เศษโลหะ ถ่านหิน หนังดิบ และหนังฟอก ข้าวโพด ใบยาสูบ กาแฟ ในปี 2548 ลาวส่งออกสินค้าเป็นมูลค่าประมาณ 379 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจากปี 2547 ร้อยละ 2
  • สินค้านำเข้าที่สำคัญ รถจักรยานยนต์และส่วนประกอบ เครื่องจักรกล เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ให้ความร้อน อาหาร ผ้าผืน สารเคมี และเครื่องอุปโภคบริโภค ในปี 2548 ลาวนำเข้าสินค้าเป็นมูลค่าประมาณ 541 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงจากปี 2547 ร้อยละ 0.21 (หมายเหตุ : สถิติการนำเข้า-ส่งออกดังกล่าวไม่รวมถึงการค้าชายแดนซึ่งมีปริมาณประมาณร้อยละ 25-30 ของมูลค่าการนำเข้า-ส่งออก)
  • ทรัพยากรสำคัญ ไม้ ดีบุก ยิบซั่ม ตะกั่ว หินเกลือ เหล็ก ถ่านหินลิกไนต์ สังกะสี ทองคำ อัญมณี หินอ่อน น้ำมัน และแหล่งน้ำผลิตไฟฟ้า
  • การลงทุน รัฐบาลลาวได้ปรับปรุงกฎระเบียบเพื่อเสริมสร้างบรรยากาศให้เอื้ออำนวยต่อการลงทุนมากยิ่งขึ้น อาทิ มาตรการด้านภาษี อนุญาตให้นครหลวงเวียงจันทน์ แขวงจำปาสัก และแขวงหลวงพระบาง มีอำนาจอนุมัติโครงการลงทุนที่มีมูลค่าไม่เกิน 2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่วนแขวงอื่น ๆ สามารถอนุมัติโครงการลงทุนที่มีมูลค่าลงทุนไม่เกิน 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ทำให้การลงทุนจากต่างประเทศในลาวมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2546 มีมูลค่า 465 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ปี 2547 มีมูลค่า 533 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และปี 2548 มีมูลค่า 1.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ นักลงทุนที่สำคัญ ได้แก่ ไทย เวียดนาม ฝรั่งเศส ออสเตรเลีย จีน

ธนาคารต่างชาติ

สามารถดำเนินการได้ ธนาคารไทยมี 5 แห่ง ได้แก่ ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารทหารไทย ธนาคารไทยพาณิชย์ ธนาคารกรุงไทย และธนาคารกรุงศรีอยุธยา

ตลาดส่งออกที่สำคัญ

ไทย เวียดนาม ฝรั่งเศส ญี่ปุ่น เยอรมนี สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา เนเธอร์แลนด์ เยอรมนี

แหล่งนำเข้าที่สำคัญ

ไทย จีน เวียดนาม สิงคโปร์ ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย เยอรมนี

สถานการณ์สำคัญ

  • 1. ด้านการเมืองและความมั่นคง
    ในปี 2548 สถานการณ์ภายในประเทศโดยรวมมีความสงบเรียบร้อย แม้ว่ายังคงมีรายงานการเคลื่อนไหวของกลุ่มต่อต้านรัฐบาลตามแขวงต่างๆ แต่ทางการลาวสามารถควบคุมสถานการณ์ได้โดยได้จัดวางกองกำลังลาดตระเวนในพื้นที่ต่างๆ อย่างเข้มงวดทำให้ไม่เกิดเหตุการณ์รุนแรง นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรี สปป.ลาว ได้มีคำสั่งเมื่อวันที่ 13 มกราคม 2549 ยุบเขตการปกครองพิเศษไซสมบูนซึ่งเคยเป็นพื้นที่ที่มีปัญหาด้านความมั่นคง โดยโอนพื้นที่การปกครองไปขึ้นกับแขวงเชียงขวางและแขวงเวียงจันทน์ เนื่องจากเห็นว่าพื้นที่ดังกล่าวมีความมั่นคงปลอดภัยมากขึ้นแล้ว
    เมื่อวันที่ 18-21 มีนาคม 2549 ที่ประชุมสมัชชาพรรคประชาชนปฏิวัติลาว ครั้งที่ 8 มีมติเป็นเอกฉันท์เลือก พลโท จูมมะลี ไซยะสอน รองประธานประเทศ (ตำแหน่งในขณะนั้น) ให้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการใหญ่คณะบริหารศูนย์กลางพรรค (Central Committee) และสมาชิกคณะกรมการเมือง (Politburo) ลำดับที่ 1 แทนพลเอกคำไต สีพันดอน อดีตประธานประเทศที่สละตำแหน่งในพรรคทุกตำแหน่ง และได้แต่งตั้งคณะบริหารพรรค ได้แก่ คณะบริหารงานศูนย์กลางพรรค จำนวน 55 คน คณะกรมการเมือง จำนวน 11 คน คณะเลขาธิการศูนย์กลางพรรค จำนวน 7 คน และคณะกรรมการตรวจตราพรรคฯ ระดับศูนย์กลางพรรคฯ จำนวน 3 คน รวมทั้ง ได้กำหนดแผนพัฒนาประเทศระยะสั้นปี 2553 และระยะยาวปี 2563 เพื่อให้รัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปปฏิบัติเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2549 สปป.ลาวได้จัดการเลือกตั้งสมาชิกสภาแห่งชาติ ชุดที่ 6 โดยพรรคประชาชนปฏิวัติลาวได้คัดเลือกส่งผู้สมัครเข้ารับการเลือกตั้ง จำนวน 175 คนเพื่อเลือกตั้งสมาชิกสภาแห่งชาติ จำนวน 115 ที่นั่งใน 17 เขตเลือกตั้ง (16 แขวงและนครหลวงเวียงจันทน์) ผลการเลือกตั้งปรากฏว่า มีประชาชนไปใช้สิทธิเลือกตั้งร้อยละร้อย สมาชิกสภาแห่งชาติที่ได้รับเลือกจำนวน 115 คน เป็นสมาชิกพรรคประชาชนปฏิวัติลาว จำนวน 113 ที่นั่ง และผู้สมัครอิสระจำนวน 2 ที่นั่ง แบ่งเป็นชนเผ่าลาวลุ่ม 92 คน ลาวเทิง 17 คน และลาวสูง 6 คน
การประชุมสภาแห่งชาติ ชุดที่ 6 ครั้งที่ 1 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 8 – 17 มิถุนายน 2549 โดยในการประชุมวันแรก ที่ประชุมได้รับรองผู้ดำรงตำแหน่งประธานประเทศ รองประธานประเทศ และคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ รวมทั้งได้มีการปรับ/จัดตั้งกระทรวงด้านเศรษฐกิจ ได้แก่ ปรับกระทรวงอุตสาหกรรมและหัตถกรรมไปรวมกับกระทรวงการค้า เป็น “กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า” และจัดตั้ง “กระทรวงพลังงานและบ่อแร่” ขึ้นใหม่เพื่อให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศที่มุ่งเน้นการพัฒนาเศ รษฐกิจ และนำศักยภาพด้านพลังงาน (พลังงานน้ำและแร่ธาตุ) มาใช้ในการพัฒนาประเทศให้เกิดประโยชน์สูงสุด


พระธาตุหลวง กรุงเวียงจันทน์ ศาสนสถานที่สำคัญที่สุดในประเทศ

  • 2. ด้านสังคม
    ปัญหายาเสพติดเป็นประเด็นที่รัฐบาล สปป.ลาวให้ความสำคัญในลำดับต้นและ ประสบความสำเร็จในการขจัดพื้นที่การปลูกฝิ่นในลาวให้หมดสิ้นไปภายในปี 2548 ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ รวมทั้งได้จัดทำแผนขอรับความช่วยเหลือจากต่างประเทศเพิ่มมากขึ้นเพื่อดำเนิน โครงการพัฒนาชนบท ป้องกันไม่ให้ประชาชนหวนกลับไปปลูกฝิ่นอีก สำหรับปัญหาอื่น ๆ ได้แก่ ปัญหาภัยธรรมชาติ ปัญหา ความไม่รู้หนังสือของประชาชน ปัญหาการแพร่ระบาดของโรคเอดส์และปัญหาการเก็บกู้กับระเบิดที่ตกค้าง ซึ่งเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการพัฒนาพื้นที่การเกษตรและเป็นสาเหตุสำคัญประการหนึ่งของการเสียชีวิต ของประชากรลาว

ประชากร

มีหลายเชื้อชาติ ประชากรนับถือศาสนาพุทธ และถือเป็นศาสนาประจำชาติตามระบอบใหม่ แบ่งประชากรเป็น 3 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ

  • ลาวลุ่ม กลุ่มคนเชื้อชาติลาว ใช้ภาษาลาวเป็นภาษาหลัก
  • ลาวเทิง เช่นชาวเผ่าบรู
  • ลาวสูง เช่นชาวเผ่าม้ง

     ประเทศลาวมีประชากร 6,068,117 คน (ปี 2548) ประกอบด้วยลาวเทิง ลาวสูง และลาวลุ่ม แยกออกได้ประมาณ 68 ชนเผ่า

  • ลาวเทิง คิดเป็นร้อยละ 22 ของประชากรทั้งหมด ได้แก่ ชนเผ่าข่า บรู มะกอง งวน ตะโอย ตาเลียง
  • ละเม็ด ละเวน กะตัง ฯลฯ ส่วนใหญ่อยู่ในแขวงภาคใต้ เช่นแขวง เซกอง สาละวัน จำปาสัก
  • ลาวสูง คิดเป็นร้อยละ 9 ของประชากรทั้งหมด ได้แก่ ม้ง (หรือแม้ว) เย้า มูเซอ ผู้น้อย และชาวเขาเผ่าต่าง ๆ ส่วนใหญ่อยู่ในแขวงภาคเหนือ เช่นแขวงหลวงพระ บาง เซียงขวง
  • ลาวลุ่ม คิดเป็นร้อยละ 68 ของประชากรทั้งหมด ได้แก่ ชนเผ่าลาว ภูไท ไทดำ ไทลื้อ ฯลฯ อาศัยกระจายอยู่ทั่วประเทศ ความหนาแน่นของประชากร 20 คนต่อตารางกิโลเมตร
  • อัตราการเกิด ร้อยละ 3.82 ต่อปี (2543)
  • จำนวนประชากรในเมือง ร้อยละ 19 ของประชากรทั้งประเทศ
  • อัตราการเพิ่มประชากร ประมาณร้อยละ 2.5 ต่อปี (2543)
  • จำนวนประชากรที่เป็นแรงงาน 2.16 ล้านคน
  • อายุเฉลี่ย 52 ปี
  • อัตราการว่างงาน ร้อยละ 5.7 (2543)
  • อัตราประชากรที่รู้หนังสือ ร้อยละ 56 (ชาย ร้อยละ 67 และหญิง ร้อยละ 43)
  • จำนวนประชากรต่อแพทย์ 1,510 : 1

ภาษา

    ภาษาลาว

ศาสนา

    ศาสนาพุทธนิกายเถรวาท 60%

วัฒนธรรมพุทธศาสนาแบบเถรวาท นับเป็นแบบแผนหลักของวัฒนธรรมลาว ซึ่งปรากฏให้เห็นทั่วประเทศ ทั้งในด้านภาษา และศิลปะ วรรณคดี ศิลปะการแสดง ฯลฯ สำหรับดนตรีลาวนั้นยังมีอิทธิพลของแคน ซึ่งเป็นเครื่องดนตรีประจำชาติ วงดนตรีของลาวก็คือวงหมอลำ มีหมอลำ และหมอแคน ท่วงทำนองของการขับลำจะแตกต่างกันไปตามท้องถิ่น ทางภาคเหนือเรียกว่าขับ ภาคใต้จากบอลิคำไซลงไปเรียกว่าลำ เช่น ขับงึมเวียงจันทน์ ขับพวนเซียงขวง ลำสาละวันของแขวงสาละวัน ลำภูไท ลำตังหวาย ลำคอนสะหวัน ลำบ้านซอกของแขวงสะหวันนะเขต ขับโสม ลำสีพันดอนของแขวงจำปาสัก ลำมะหาไซของแขวงคำม่วน ขับทุ่มของแขวงหลวงพระบาง ขับลื้อของชาวลื้อ เป็นต้น การแต่งกายที่เป็นเอกลักษณ์ อย่างหนึ่งของลาวคือผู้หญิงจะนุ่งผ้าซิ่น (ผ้าถุง) อาหารของคนลาว ลาวจะทานข้าวเหนียวเป็นหลัก อาหารที่เป็นเอกลักษณ์คือ แจ่ว ส้มตำ ไก่ย่าง เป็นต้นารยธรรมเก่าแก่ของลาวนั้น มีปรากฏจากหลักฐานด้านโบราณคดียุคหิน ในทุ่งไหหิน ในเมืองเซียงขวาง

 

http://www.abroad-tour.com/laos/main.html


ลำนั่งสีพันดอน ของแขวงจำปาสัก

This slideshow requires JavaScript.